สรุปประมวลท่าทีสื่อต่างประเทศต่อประเทศไทย ประจำวันที่ ๒๗ ม.ค. ๒๕๖๗

Release Date : 27-01-2024 00:00:00
สรุปประมวลท่าทีสื่อต่างประเทศต่อประเทศไทย ประจำวันที่ ๒๗ ม.ค. ๒๕๖๗

สรุปประมวลท่าทีสื่อต่างประเทศต่อประเทศไทย ประจำวันที่ ๒๗ ม.ค. ๒๕๖๗ โดยกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ดังนี้ ๑. CNA (สิงคโปร์) Xinhua (จีน) Borneo Bulletin (บรูไนดารุสซาลาม) - ปลัด.พณ.ไทยระบุว่า การส่งออก ของไทยในปี ๒๕๖๗ จะเติบโตร้อยละ ๑ - ๒ หลังจากที่ลดลงในปี ๒๕๖๖ ส่วนการส่งออกในเดือน ธ.ค. ๒๕๖๖ เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ ๕ ติดต่อกันแม้จะช้ากว่าที่คาดไว้ ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออก ได้แก่ ภูมิรัฐศาสตร์ การชะลอตัวของ ศก.จีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ ๒ ของไทย โดยในเดือน ธ.ค. สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วน และข้าว ส่วนสินค้าที่ลดลง คือ เคมีภัณฑ์ ๒. Vietnam Plus (เวียดนาม) - ผอ.สศค.โฆษก ก.คลังไทยเปิดเผยว่า ศก.ไทยปี ๒๕๖๖ ขยายตัวร้อยละ ๑.๘ ลดลงจากร้อยละ ๒.๖ ในปีก่อนหน้า จากการผลิตและการส่งออกที่หดตัว โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน พ.ย. ๒๕๖๖ ลดลงร้อยละ ๔.๗ เป็นเดือนที่ ๑๔ ติดต่อกัน และการผลิตสินค้าสำคัญหลายรายการก็ลดลง ติดต่อกันมาหลายเดือน ทั้งนี้ ก.คลังคาดการณ์ว่า GDP ไทยจะเติบโตร้อยละ ๒.๘ ในปีนี้ จากการส่งออกสินค้า และบริการ และจำนวน นทท.ที่เพิ่มขึ้น ๓. Vietnam Plus (เวียดนาม) - อธ.กรมการขนส่งทางรางไทยกล่าวว่า รฟท.จะขยายเส้นทางรถไฟสาย กรุงเทพฯ-หนองคาย ไปถึงเวียงจันทน์ (สถานีคำสะหวาด) ในเดือน เม.ย. ๒๕๖๗ โดยสถานีหนองคายถึง คำสะหวาดมีระยะทาง ๑๓ กม. ค่าโดยสาร ๖๐ - ๗๐ บาท ใช้เวลาเดินทาง ๒๐ นาที โดยกำลังหารือให้มีพิธีการ ตรวจคนเข้าเมืองเพียงจุดเดียว และฝึก พนง.ขับรถไฟชาวลาวเพื่อขับรถไฟเข้าลาว ป้องกัน พนง.ไทยถูกดำเนินคดี หากเกิดอุบัติเหตุในลาว ๔. Myanmar Digital News (เมียนมา) - เมื่อ ๒๕ ม.ค. ๒๕๖๗ ออท.จีน/เมียนมา และ ออท.ไทย เมียนมา เข้าพบ รอง นรม. รมว.กต.เมียนมา โดยในส่วนของ ออท.ไทยได้หารือเกี่ยวกับประเด็นความสงบเรียบร้อยและ เสถียรภาพในพื้นที่ชายแดน การเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคี และความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์แก่ทั้งไทย และเมียนมา ๕. Jerusalem Post (อิสราเอล) - เล่าประสบการณ์ของผู้แทนประเทศ (Commissioner) ชาวอิสราเอล ที่มาร่วมงานแสดงตราไปรษณียากรโลก ๒๕๖๖ ที่ ปทท.เมื่อ ๒๗ พ.ย. - ๓ ธ.ค. ๒๕๖๖ ว่าได้รับการต้อนรับ อย่างอบอุ่นที่ ปทท.และมีโอกาสได้พบปะกับผู้เชี่ยวชาญด้านแสตมป์จากหลากหลาย ปท. แม้จะมีความกังวล ก่อนเดินทางมา หลังจากสถานการณ์ในอิสราเอล-กาซา ทำให้มีการประท้วงต่อต้านอิสราเอลในหลาย ปท. ๖. Radio Free Asia (สหรัฐฯ) Reuters (สหราชอาณาจักร) Global Times (จีน) หลายสำนัก - ก่อนการหารือกับ รมว.กต.จีนที่กรุงเทพฯ ทปษ.คมค.แห่งชาติสหรัฐฯ ได้พบหารือกับ นรม.และ รนรม.รมว.กต. ไทย ถึง คสพ.ด้านความมั่นคง ศก. พลังงานสะอาดและประเด็นในภูมิภาคโดยเฉพาะเมียนมา ซึ่งแม้ไทยเป็น พันธมิตรของสหรัฐฯ แต่ได้ย้ำหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ทั้งนี้ โฆษก กต.ไทยกล่าวด้วยว่า ไทยไม่ได้ เป็นผู้จัดการหารือระหว่างจีนและสหรัฐฯ แต่ยินดีที่มีการหารือใน ปทท.ซึ่งจะเป็น ปย.ต่อสันติภาพ ความมั่นคง และการพัฒนาในภูมิภาคและในโลก ส่วนนักวิชาการเห็นว่าการรักษาสมดุลใน คสพ.กับจีนและสหรัฐฯ ของไทย ทำให้เหมาะสมที่ผู้แทนทั้งสอง ปท.จะมาพบกันในไทย และน่าจะนำมาซึ่งผลในทางปฏิบัติ ๗. Reuters (สหราชอาณาจักร) The Straits Times (สิงคโปร์) Global News (แคนาดา) - กห.ไต้หวัน เปิดเผยว่า ก่อนการหารือระหว่าง ทปษ.คมค.แห่งชาติสหรัฐฯ กับ รมว.กต.จีนที่กรุงเทพฯ ในวันที่ ๒๖ ม.ค. ๒๕๖๗ พบว่ามีเครื่องบิน ทอ.จีน ๒๓ ลำ บินลาดตระเวนพร้อมรบร่วมกับเรือรบจีนรอบเกาะไต้หวัน โดยมี ๑๓ ลำ ล้ำเส้นแบ่งเขตในช่องแคบไต้หวัน ทั้งนี้ แม้จีนและสหรัฐฯ หวังจะรื้อฟื้นการติดต่อและขยายความร่วมมือต่างๆ แต่ยังคงเห็นต่างกันอย่างมากในกรณีไต้หวัน ๘. AP (สหรัฐฯ) - หลายฝ่ายมองว่าเมื่อ สปป.ลาวเข้ารับหน้าที่ ปธ.อาเซียน ไม่น่าจะสามารถแก้ไขปัญหาสำคัญๆ ของอาเซียนได้ โดยเฉพาะความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ที่มีเหตุกระทบกระทั่งบ่อยครั้งขึ้น และการสู้รบในเมียนมา ที่เริ่มคล้ายสงครามกลางเมือง ในขณะที่บทบาทของจีนก็กำลังเป็นที่จับตามองในทั้งสองกรณี ในฐานะ ปท.ที่มี พรมแดนและมีอิทธิพลทั้งต่อลาวและเมียนมา และเป็นคู่พิพาทของอีกหลาย ปท.สมาชิกอาเซียนในทะเลจีนใต้ ๙. BBC (สหราชอาณาจักร) CNN (สหรัฐฯ) Al Jazeera (กาตาร์) หลายสำนัก - ศาล ยธ.รวปท. (ICJ) ออกคำสั่งชั่วคราว ในกรณีแอฟริกาใต้ยื่นคำร้องกล่าวหาว่าปฏิบัติการของอิสราเอลในฉนวนกาซาเป็นการฆ่า ล้างเผ่าพันธุ์ โดยให้อิสราเอลทำทุกวิถีทางเพื่อปฏิบัติตามอนุสัญญาห้ามการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และอนุญาตให้ คชล. ด้านมนุษยธรรมเข้าถึงพื้นที่ ทั้งนี้ ชาวปาเลสไตน์แสดงความผิดหวังต่อ ICJ เนื่องจากคำสั่งฯ ไม่ได้ให้อิสราเอล ยุติปฏิบัติการทางทหาร และการวินิจฉัยว่ากรณีนี้เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือไม่ก็อาจใช้เวลาอีกนาน