สรุปประมวลท่าทีสื่อต่างประเทศต่อประเทศไทย ประจำวันที่ ๘ พ.ย. ๒๕๖๖

Release Date : 08-11-2023 00:00:00
สรุปประมวลท่าทีสื่อต่างประเทศต่อประเทศไทย ประจำวันที่ ๘ พ.ย. ๒๕๖๖

สรุปประมวลท่าทีสื่อต่างประเทศต่อประเทศไทย ประจำวันที่ ๘ พ.ย. ๒๕๖๖ โดยกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ดังนี้ ๑. Reuters (สหราชอาณาจักร) - ครม.ไทย อนุมัติงบประมาณ ๕.๕ หมื่นล้านบาท เพื่อตรึงราคาข้าวช่วยเหลือ เกษตรกรรมจากราคาข้าวตกต่ำ โดยจะเป็นการให้สินเชื่อเพื่อการเก็บข้าวไว้และชะลอการขาย จนกว่าจะถึงเวลา ขายที่เหมาะสมเมื่อราคาข้าวสูงขึ้น Reuters - https://www.reuters.com/article/thailand-rice-idAFL1N3C80J7 ๒. BBC (สหราชอาณาจักร) - แม้ รบ. ไทยประกาศงดเว้นการตรวจลงตราสำหรับ นทท. จีน แต่ยังมีหลายปัจจัย ที่ส่งผลให้ นนท. จีน ยังไม่เดินทางกลับมาท่องเที่ยวไทยมากนัก อาทิ เหตุยิงที่ห้างสรรพสินค้าชื่อดังเมื่อเดือน ต.ค. ๖๖ ราคาตั๋วเครื่องบิน และการชะลอตัวของ ศก. จีน อย่างไรก็ตาม การเดินทางมาไทยยังคงเป็นที่นิยม ในกลุ่ม LGBTQ+ ชาวจีน โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องการย้ายมาพำนักในระยะยาว เนื่องจากสังคมไทยเปิดกว้าง ด้านความหลากหลายทางเพศมากกว่า BBC - https://www.bbc.com/news/world-asia-67305693 ๓. Skift (สหรัฐฯ) - ททท. เปิดตัวแคมเปญ Meaningful Relationship ที่งาน World Travel Market ณ กรุงลอนดอน เพื่อเชิญชวนให้ นทท. ทั่วโลก มาสัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยวสุดพิเศษในปทท. โดยไทยมีเป้าหมายดึงดูด นทท. มากถึง ๒๕ - ๓๐ ล้านคน คิดเป็นมูลค่าทางศก. ราว ๑.๕ ล้านล้านบาท ภายในสิ้นปี ๒๕๖๖ Skift - https://skift.com/blog/thailands-meaningful-relationship-campaign-romanticizes-tourism/ ๔. The Straits Times (สิงคโปร์) - รักษาการ รมว.คค. สิงคโปร์ ระบุว่า แม้โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่ง ทะเลอ่าวไทย-อันดามัน (LandBridge) ของไทยอาจช่วยลดระยะเวลาขนส่งสินค้า แต่ผู้ขนส่งอาจมีค่าใช้จ่าย ที่สูงกว่าการเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกาและสิงคโปร์ ทั้งนี้ สิงคโปร์จะมุ่งหน้าพัฒนาท่าเรือให้มีความสามารถ ในการแข่งขันสูงขึ้น โดยมีกำหนดจะเปิดตัวท่าเรือ “Tuas Mega Port” ในปี ๒๕๘๓ ซึ่งจะเป็นท่าเรืออัตโนมัติ เต็มรูปแบบที่ใหญ่ที่สุดในโลก The Straits Times - https://www.straitstimes.com/singapore/politics/higher-costs-likely-for- shippers-that-use-proposed-thai-land-bridge-project-chee-hong-tat ๕. Nikkei Asia (ญี่ปุ่น) - ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา (OCA) กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง หลังราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ไทยและกัมพูชาต้องค้นหาแหล่งพลังงานใหม่ นักวิเคราะห์จึงมองว่า รบ.ไทย มีแรงจูงใจที่จะเจรจาเรื่อง OCA อย่างจริงจัง เนื่องจาก นรม. มุ่งเน้นนโยบายลดราคาพลังงานเพื่อกระตุ้น ศก. และ ยังวิเคราะห์ว่า กัมพูชาอาจมีความกังวลว่าฝ่ายไทยมีแนวโน้มที่จะเป็นฝ่ายได้เปรียบ เนื่องจากมีอุตสหกรรม การขุดเจาะแหล่งพลังงานใต้ทะเลที่ก้าวหน้ากว่า Nikkei Asia - https://asia.nikkei.com/Business/Energy/Rising-energy-prices-rekindle-Thai- Cambodian-interest-in-disputed-waters ๖. S&P Global Platts (สหรัฐฯ) - การที่สหรัฐฯ ควํ่าบาตร บ. นํ้ามันและก๊าซ Myanma Oil and Gas Enterprise (MOGE) ของเมียนมา เมื่อวันที่ ๓๑ ต.ค. ๒๕๖๖ อาจส่งผลกระทบต่อไทยและจีน และอาจส่งผลให้ ไทยต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานรูปแบบอื่นจากทางใต้ของจีนแทน การคว่ำบาตรครั้งนี้ ถือเป็นการคว่ำบาตร ของสหรัฐฯ ครั้งแรกที่มุ่งเป้าการส่งออกนํ้ามันและก๊าซของเมียนมา S&P Global Platts - https://www.spglobal.com/commodityinsights/en/market-insights/latest- news/lng/110723-us-sanctions-on-myanmar-pose-hurdles-for-gas-exports-to-thailand-china ๗. Mizzima (เมียนมา) - เมื่อวันที่ ๖ พ.ย. ๖๖ ร. ผบ.ตร. ไทยเดินทางเยือนเมียนมา เพื่อหารือกับทางการเมียนมา เกี่ยวกับการนำคนไทย ๑๖๒ คน ที่ถูกล่อลวงให้ไปทำงานผิด กม. ที่เมืองเล่าก์ก่าย กลับปทท. โดยจะเดินทาง ไปเยี่ยมคนไทยกลุ่มดังกล่าวที่ที่พำนักด้วย Mizzima - https://www.mizzima.com/article/top-thai-police-officer-returning-162-trafficked-thais- myanmar ---- ๘. AP (สหรัฐฯ) - รมว.กต. สหรัฐฯ เริ่มดำเนินการทูตเข้มข้นในเอเชียในประเด็นความขัดแย้งอิสราเอล – ฮามาส โดยรมว.กต. สหรัฐฯ กล่าวว่า ในการประชุมสุดยอด G7 ที่กรุงโตเกียว (๗-๘ พ.ย. ๖๖) กลุ่ม G7 มีความจำเป็น ที่จะต้องแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อประเด็นอิสราเอล – ฮามาส เช่นเดียวกับกรณีรัสเซีย – ยูเครน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้น โดยที่ประชุมจะให้ความสำคัญกับผลกระทบด้านมนุษยธรรมเป็นหลัก AP - https://apnews.com/article/japan-us-g7-blinken-gaza-russia- 834aa74998f4c1fa92f2d3326831345a