สรุปประมวลท่าทีสื่อต่างประเทศต่อประเทศไทย ประจำวันที่ ๑๘ ก.ค. ๒๕๖๖

Release Date : 18-07-2023 00:00:00
สรุปประมวลท่าทีสื่อต่างประเทศต่อประเทศไทย ประจำวันที่ ๑๘ ก.ค. ๒๕๖๖

สรุปประมวลท่าทีสื่อต่างประเทศต่อประเทศไทย ประจำวันที่ ๑๘ ก.ค. ๒๕๖๖ โดยกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ดังนี้ ๑. Bloomberg (สหรัฐ) – นายเสรี สุวรรณภานนท์ (ส.ว.) ระบุว่า ตามข้อบังคับประชุมรัฐสภาที่ว่า ญัตติที่เสนอไปแล้วและตกไปแล้วไม่อาจเสนอซ้ำได้อีกในสมัยประชุมเดียวกัน จะทำให้ไม่สามารถเสนอชื่อนายพิธาฯ เพื่อลงคะแนนเสียงสำหรับตำแหน่ง นรม. ได้อีก อย่างไรก็ตาม รธน. ไม่ได้ระบุว่า บุคคลหนึ่งจะสามารถได้รับการเสนอชื่อสำหรับตำแหน่ง นรม. ได้กี่ครั้ง หรือกำหนดว่าจะต้องเลือกนรม. ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาเท่าใด ทั้งนี้ ปธ. สภาฯ ยังไม่ได้ให้ความเห็นต่อประเด็นที่นายเสรีฯ หยิบยก ๒. CNA (สิงคโปร์) – วิเคราห์ความท้าทายที่นายพิธาฯ อาจต้องเผชิญในการประชุมวันที่ ๑๙ ก.ค. ๖๖ รวมฉากทัศน์ต่าง ๆ ของพรรคเพื่อไทย ที่อาจมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล ทั้งนี้ ไม่ว่าผลจะออกมาในรูปแบบใด ล้วนสะท้อนระบบที่ไม่ได้เคารพเสียงของประชาชนเป็นใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ประชาชนและนำไปสู่ความเคลื่อนไหวทางการเมือง ๓. Bloomberg (สหรัฐฯ) / BNN Bloomberg (แคนาดา) – ๘ พรรคร่วมรัฐบาลยังคงยืนยันที่จะสนับสนุนนายพิธาฯ เป็น นรม. ทั้งนี้ ต่อประเด็นของ ส.ว. เสรีฯ ที่กล่าวว่าไม่สามารถเสนอชื่อนายพิธาฯ เป็นครั้งที่ ๒ ได้นั้น นายพิธาฯ เห็นว่า การเสนอชื่อบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่ง นรม. ต่างจากการเสนอญัตติทั่วไป อย่างไรก็ตาม นายพิธาฯ ยังคงมีอีกหนึ่งปัจจัยท้าทาย คือ การพิจารณากรณีถือหุ้นสื่อของศาล รธน. ในวันที่ ๑๙ ก.ค. ๖๖ ๔. The Telegraph (สหราชอาณาจักร) – วิเคราะห์ว่าไทยเป็น ‘Swing State’ ระหว่างขั้วอำนาจโลกเสรีและจีน ซึ่งผลการลงคะแนนเสียงเลือก นรม. ของไทย อาจนำไปสู่โอกาสของกลุ่มประเทศเสรีนิยม โดยเฉพาะสหรัฐฯ ให้สามารถดำเนินยุทธศาสตร์ในไทยได้อีกครั้ง หลังจากหยุดชะงักไปในช่วงที่ไทยมีผู้นำจากฝ่ายทหารและได้รับอิทธิพลจากจีนมาก ๕. Reuters (สหราชอาณาจักร) – โฆษก กต. สหรัฐฯ กล่าวว่า ทางสหรัฐฯ สังเกตการณ์สถานการณ์หลังการเลือกตั้งในไทยอย่างใกล้ชิด รู้สึกห่วงกังวลต่อพัฒนาการของระบบกฎหมายไทย และแสดงจุดยืนสนับสนุนผลลัพธ์ทางการเมืองที่สะท้อนความต้องการของประชาชนไทย ๖. Reuters (สหราชอาณาจักร) - จำนวนนนท.อินเดียเดินทางเข้ามาในอช.ตอ.ฉต.มากขึ้น รวมถึงประเทศไทย โดยใช้จ่ายในประเทศไทยใกล้เคียงกับนักท่องเที่ยวจีน สายการบิน IndiGo และสายการบินไทยจึงมีแผนเจาะกลุ่มชาวอินเดียชนชั้นกลางที่มีกำลังการใช้จ่ายมากขึ้น ๗. Mizzima (เมียนมา) – รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติเมียนมา (NUG) กล่าวว่า การพบกันระหว่างรอง นรม. / รมว.กต. ไทยกับนางอองซานซูจี เป็นเพียงการเล่นการเมือง (political tactic) ของรบ. รักษาการไทย ที่ต้องการส่งเสริมบทบาทในการเจรจาเรื่องเมียนมาของไทยเท่านั้น โดยรัฐบาลทหารเมียนมาเป็นผู้ประสานเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองโดยปราศจากความจริงใจ ๘. Yonhap News Agency (เกาหลีใต้) - ปลัด อก. นำคณะผู้แทนภาค ศก. ของไทยเยือนกรุงโซล พบหารือรมช.กระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและพลังงานเกาหลีใต้ แลกเปลี่ยนความเห็นแนวทางส่งเสริมความร่วมมือในอุตสาหกรรมรถยนต์ EV และอุตสาหกรรมขั้นสูงต่างๆ ระหว่างกัน ๙. AniNews. in (อินเดีย) - รมว.กต. อินเดีย กล่าวใน กปช. รัฐมนตรีต่างประเทศบิมสเทคอย่างไม่เป็นทางการ ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ หารือประเด็นความมั่นคงด้านอาหาร สุขภาพ และพลังงาน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญ รวมทั้งการสำรวจโอกาสสำหรับความร่วมมือใหม่ ๆ เพื่อมุ่งสู่การเสริมสร้างการเจริญเติบโตและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน